วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

Youtube คือ....


YouTube เป็นเว็บไซต์แลกเปลี่ยนภาพวิดีโอที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ที่สำคัญทุกอย่างที่นี่ฟรี โดยในเว็บไซต์นี้ ผู้ใช้สามารถใส่ภาพวิดีโอเข้าไป เปิดดูภาพวิดีโอที่มีอยู่ และแบ่งภาพวิดีโอ เหล่านี้ให้คนอื่นดูได้ด้วย

YouTube ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2005 โดยอดีตพนักงานของ PayPal สามคนด้วยกัน (ปัจจุบัน PayPal ถูก eBay ซึ้อไปเรียบร้อยแล้ว) ใน YouTube จะมีบริการแสดงภาพวิดีโอซึ่งอาศัยเทคโนโลยีของ Adobe Flash ในการแสดงภาพวิดีโอ (Adobe Flash หรือที่หลายๆ คนรู้จักในชื่อของ Macromedia Flash หรือ Flash (แฟลช) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่นิยมมาก ในการทำภาพแอนิเมชั่นและการทำโปรแกรมเล็กๆ ที่ใช้สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เข้าชมเว็บ โดยมีซอฟต์แวร์ ระบบ และอุปกรณ์หลายชนิดที่สามารถสร้างแฟลชและแสดงแฟลชได้ แฟลชจึงสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสร้างแอนิเมชั่น โฆษณา สร้างส่วนประกอบของหน้าเว็บ รวมภาพวิดีโอเข้าไปในหน้าเว็บ รวมถึงการสร้างพอร์ทัล)

ใน YouTube จะมีข้อมูลเนื้อหารวมถึงคลิปภาพยนตร์สั้นๆ และคลิปที่มาจากรายการโทรทัศน์ มิวสิกวิดีโอ และวิดีโอบล็อกกิ้ง (ซึ่งเป็นการสร้างบล็อกโดยมีส่วนของข้อมูลที่เป็นภาพ วิดีโอเป็นส่วนประกอบด้วย โดยเฉพาะเป็นภาพวิดีโอที่เกิดจากมือสมัครเล่นถ่ายกันเอง) ปัจจุบัน YouTube มีพนักงานเพียง 67 คนเท่านั้น

YouTube เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลาสั้นๆ และได้รับความ สนใจเป็นอันมาก โดยเฉพาะการบอกแบบปากต่อปากที่ทำให้การเติบโตของ YouTube เป็นไป อย่างรวดเร็วมากจริงๆ YouTube มาเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายต่อเนื่อง เมื่อมีการนำภาพวิดีโอช่วง Lazy Sunday ของรายการ Saturday Night Live มาแสดงบนเว็บ ซึ่งต่อมาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซี (NBC) ก็ได้เรียกร้องให้ทาง YouTube เอาคลิปวิดีโอที่มีลิขสิทธิ์ทั้งหลายออกจากเว็บ ซึ่ง YouTube เองก็มีนโยบายที่จะไม่เอาคลิปที่ละเมิดลิขสิทธิ์มาแสดงเช่นกัน นั่นทำให้ต่อมา You Tube กำหนดนโยบายที่ชัดเจนขึ้นในเรื่องนี้ โดยกำหนดให้คลิปวิดีโอมีความยาวสูงสุดเพียงแค่ 10 นาทีเท่านั้นยกเว้นเป็นคลิปที่มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นจากคนทำภาพยนตร์มือสมัครเล่นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ YouTube ก็หาทาง ออกโดยการแบ่งภาพวิดีโอของตนเป็นชิ้นย่อยๆ แต่ละชิ้นยาวน้อยกว่า 10 นาทีแทน

อย่างไรก็ตาม กรณีพิพาทกับสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซีก็ทำให้ YouTube เป็นข่าวและเพิ่มความดังมากขึ้นไปอีก และต่อมาเอ็นบีซีก็เห็นถึงประสิทธิภาพของ YouTube และตัดสินใจ ดำเนินยุทธศาสตร์ที่ต่างไปจากเดิม โดยประกาศให้ YouTube เป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์แทน โดย YouTube จะเป็นคนโฆษณารายการของเอ็นบีซีในรูปของวิดีโอคลิปในเว็บของ YouTube เช่นเดียวกับสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส (CBS) ที่เริ่มต้นเหมือนกับเอ็นบีซีและเลือกลงท้ายเหมือนกับเอ็นบีซีเช่นเดียวกัน

เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา YouTube ประกาศว่าภายใน 18 เดือนข้างหน้านี้ พวกเขา จะสามารถเปิดให้เข้ามาดูมิวสิกวิดีโอทุกเพลงที่เคยสร้างขึ้นมาได้ และแน่นอน ทุกอย่างฟรีหมด โดยวอร์เนอร์มิวสิค (Warner Music) และอีเอ็ม ไอ (EMI) ได้ยืนยันแล้วว่าพวกเขาเป็นหนึ่งในบริษัทที่กำลังเจรจาในรายละเอียดกับ YouTube อยู่ และเดือนกันยายนที่ผ่านมา วอร์เนอร์มิวสิก และ YouTube ก็ได้เจรจาข้อตกลงที่ YouTube จะเป็นที่เก็บมิวสิกวิดีโอทุกเพลงที่วอร์เนอร์มิวสิค ผลิตขึ้นมา โดยพวกเขาจะแบ่งรายได้จากโฆษณา กัน นอกจากนี้ใครก็ตามที่สร้างคลิปวิดีโอเพื่อแสดงบน YouTube ก็สามารถนำเพลงของวอร์เนอร์มาใช้เป็นซาวด์แทร็กต์ได้ โดยไม่ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์แต่อย่างใด

9 ตุลาคมที่ผ่านมา ซีบีเอสรวมถึงยูเอ็มจี (UMG-Universal Music Group) และโซนี่บีเอ็มจี (Sony BMG) ก็ตัดสินใจที่จะแสดงงานของตนบน YouTube เช่นกัน

ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทันที เมื่อกูเกิ้ล ประกาศเมื่อวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา ว่าตกลงตัดสินใจเข้าซื้อ YouTube ด้วยมูลค่า 1,650 ล้านเหรียญสหรัฐ ในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนหุ้น อย่างไรก็ตาม YouTube ก็ยังคงดำเนินกิจกรรม ของบริษัทไปตามปกติ โดยเป็นอิสระจากการควบคุมของกูเกิ้ล โดยกูเกิ้ลมองว่า YouTube เป็นชุมชนออนไลน์ทางด้านวิดีโอเพื่อความบันเทิง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีการเติบโตรวดเร็วที่สุด ในขณะที่กูเกิ้ลมองตัวเองว่าเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญ ทางด้านการจัดการข้อมูลสารสนเทศ และการสร้างโมเดลใหม่ทางด้านการโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต การรวมกันของสองบริษัทนี้จะมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มประสบการณ์ที่ดีขึ้นและเข้าใจได้มากขึ้น สำหรับผู้ใช้ที่สนใจในการอัพโหลด การดูวิดีโอ และการแชร์ภาพวิดีโอ รวมถึงการนำเสนอโอกาสใหม่ๆ สำหรับผู้เป็นเจ้าของ ข้อมูล (Content) ที่เป็นมืออาชีพที่จะนำเสนองานของพวกเขาไปสู่คนวงกว้าง

เมื่อมองถึงโมเดลการสร้างรายได้ของ YouTube นั้นโมเดลธุรกิจของ YouTube จะอาศัยการโฆษณาเป็นหลัก นักวิเคราะห์ทางอุตสาหกรรม บางคนเห็นว่า YouTube มีค่าใช้จ่ายด้านการบริหารงาน (running cost) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง YouTube ต้องการใช้แบนด์วิธซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 1 ล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือน ดังนั้นจึงทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ต่อตัวบริษัทในทำนองว่าจะเหมือนๆ กับบริษัทที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต หลายๆ แห่ง ที่ไม่มีโมเดลธุรกิจใดที่สามารถใช้งานได้ การใช้โฆษณาเริ่มเข้าปรากฏชัดเจนบนเว็บไซต์ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2006 ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา YouTube ได้เริ่มใช้ Google AdSense ซึ่งเป็นโปรแกรมบริหารจัดการโดยกูเกิ้ลในการคำนวณรายได้จากโฆษณาที่ปรากฏในเว็บไซต์นั้นๆ แต่ YouTube สุดท้ายก็หยุดใช้ AdSense ในที่สุด นักวิเคราะห์บางคนคิดคำนวณว่า YouTube อาจจะมีรายได้มากถึงหลายล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือน ซึ่งก็จะทำให้ YouTube สามารถสร้างรายได้สุทธิได้มากมายในแต่ละเดือน

แต่เมื่อกูเกิ้ลเข้ามาซื้อ YouTube ไป การเปลี่ยนแปลงจะต้องเกิดขึ้นกับ YouTube อย่างแน่นอน ในอนาคตอันใกล้แม้จะมีการออกมาบอกว่า YouTube จะได้รับอิสระในการบริหารจัดการก็ตามที แน่นอนว่าระบบการจัดการรายได้ โดยเฉพาะการกำหนดโมเดลการสร้างรายได้ใหม่ๆ ในเว็บไซต์ของ YouTube จะต้องเกิดขึ้น แต่ที่เราพอจะวางใจได้ในฐานะคนใช้งานและคนใช้บริการเว็บไซต์ YouTube ก็คือ ทุกอย่างน่าจะยังคงฟรีต่อไปอีก เพราะที่ผ่านมาการให้บริการของกูเกิ้ลก็เป็นในลักษณะให้บริการฟรีเกือบทั้งสิ้น โดยเฉพาะการสร้างโมเดลธุรกิจที่อิงกับการอาศัยของฟรีเป็นตัวกำหนดตลอดมา

เมื่อมองถึงวงการบันเทิง การที่กูเกิ้ลเข้าครอบครอง YouTube จะเป็นการเพิ่มช่องทางในการแข่งขันในธุรกิจบันเทิงที่สำคัญยิ่ง ที่ผ่านมาจะเห็นการเริ่มเคลื่อนไหวที่ชัดเจนของยักษ์ใหญ่ในวงการอินเทอร์เน็ตในการเปิดให้บริการภาพยนตร์รวมถึงรายการโทรทัศน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่เริ่มจะเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ การประกาศเข้าเทกโอเวอร์ของกูเกิ้ลครั้งนี้จึงเป็นจิ๊กซอว์ที่เข้ามาเติมเต็มการวาดภาพอนาคตของกูเกิ้ลในวงการบันเทิงที่ให้ภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ความเคลื่อนไหวในการแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดสินค้าบันเทิง ไม่ว่าจะเป็นเพลง ภาพยนตร์ และรายการโทรทัศน์ ที่มีบริษัทในวงการอินเทอร์เน็ตเข้าไปเกี่ยวข้องแบบเกาะติดมากขึ้นจึงดุเดือดเลือดพล่านในระดับที่คนเฝ้าดูอย่างเราๆ ไม่สามารถกระพริบตาได้ สิ่งที่จะต้องมองต่อไปก็คือ คู่แข่งของกูเกิ้ล จะว่าอย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นคู่แข่งในธุรกิจอินเทอร์เน็ตด้วยกันเอง ไม่ว่าจะเป็นยาฮูและไมโครซอฟท์ แต่ยังรวมถึงคู่แข่งรายอื่นๆ อย่างในวงการมือถือและวงการสื่อสารมวลชน เป็นต้น

กูเกิ้ลชิงความได้เปรียบครั้งสำคัญโดยเฉพาะการเข้าครอบครองกิจการ YouTube ที่จะเป็นบันไดสำคัญในการเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดบันเทิงในอนาคต YouTube ที่มีการเติบโตอย่าง รวดเร็วด้วยโมเดลธุรกิจที่เหมือนกับการสร้างทำโฮมวิดีโอในสมัยก่อนแต่อาศัยช่องทางอินเทอร์เน็ตในการสร้างความนิยมอย่างรวดเร็ว กูเกิ้ลและ YouTube จึงเป็นการจับคู่ทางธุรกิจที่น่าสนใจที่สุดคู่หนึ่งในปีนี้ และจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง เชิงโครงสร้างของวงการบันเทิงในอนาคตอย่างแน่นอน

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ส่วนใหญ่จะรู้จัก และชื่นชอบเว็บไซต์รวมคลิปวิดีโออย่าง YouTube ซึ่งก่อนหน้านี้ นิตยสารคอมพิวเตอร์.ทูเดย์ได้จัดทำเป็นเรื่องเด่นประจำฉบับที่ 291 ปักษ์แรกเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ล่าสุดเว็บไซต์แชร์วิดีโออันดับหนึ่งของโลกได้ถูกแกะรอยสถิติโดยเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ วอลสตรีท เจอนัล ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลคร่าวๆ ว่า ขนาดของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้จัดเก็บวิดีโอทั้งหมดเป็นเท่าไร อัตราการเติบโต กิจกรรมของผู้ใช้ ตลอดจนคำยอดฮิตที่ใช้เป็นชื่อไตเติลวิดีโอ เราลองมาดูรายละเอียดของตัวเลขสถิติเหล่านั้นกันดีกว่า

- YouTube มีวิดีโอทั้งหมดมากกว่า 6 ล้านคลิป โดยอัตราการเพิ่มจำนวนคลิปวิดีโอ 20% ต่อเดือน

- คลิปวิดีโอทั้งหมดจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บถึง 45 เทอราไบต์ หรือเทียบเท่ากับความจุของฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์ตามบ้านรวมกัน 5,000 ครัวเรือน

- หากคุณต้องการดูวิดีโอทั้งหมดใน YouTube จะต้องใช้เวลาทั้งสิ้น 9,305 ปี

- สำหรับคอนเท็นต์ที่เปิดให้บริการจะมีค่าแบนด์วิดธ์คิดเป็นเงินหลายล้านเหรียญฯ ต่อเดือน

- วิดีโอคลิปในเซ็คชั่น most popular จะมีเปอร์เซ็นต์ของแทรฟฟิกการเข้าชมสูงมากเป็นพิเศษ

- คำว่า “dance”, “love”, “music” และ “girl” ถูกใช้เป็นชื่อไตเติลของวิดีโอมากที่สุด

ด้วยขนาด และต้นทุนในการให้บริการฟรีของ YouTube ทำให้หลายคนสงสัยว่า อนาคตของเว็บไซต์แห่งนี้จะเป็นอย่างไร นักวิเคราะห์บางรายก็ทำนายว่า มันจะปิดตัวเองไปในที่สุด เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา โดยเฉพาะค่าแบนด์วิดธ์ที่ใช้ในการส่งข้อมูล บางรายคาดว่า ไมโครซอฟท์ ยาฮู หรือบริษัทยักษ์ใหญ่จะเข้ามาโอบอุ้มในที่สุด แต่ถึงแม้จะเป็นอย่างนั้น คำถามที่ยังไม่มีคำตอบนั่นคือ รายได้จะมาจากไหน? (แม้กระทั่งบิลเกตส์เองก็เคยให้ทรรศนะว่า เขาเองก็ยังไม่แน่ใจเหมือนกัน) เพราะวิธีที่จะหาเม็ดเงินหลายล้านเหรียญฯ ต่อเดือนจากรายได้โฆษณาบนเครือข่ายไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

ประโยชน์ของ Youtube คือ เป็นห้องสมุดสื่อดิจิตอลที่มีทั้งภาพและเสียงที่มีข้อมูลมากมาย ที่สำคัญไฟล์ภาพและเสียงเหล่านี้ ถือได้ว่าเป็นไฟล์ภาพและเสียงที่ authentic คือมีความสมจริง (มีการตัดต่อ แต่งเติมบ้าง)

เนื่องจากใน Youtube มีไฟล์มากมาย เราจึงต้องเลือกว่าจะใช้ประโยชน์จากมันอย่างไร อย่างแรกเลยคือการค้น หรือ search ใช้คำค้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น เราต้องการฝึกเรื่องของการออกเสียง หรือ pronuncation เราก็จะใข้คำค้นว่า "pronunciation" จากการค้นหาไฟล์ที่เกี่ยวข้องกับ "pronunciation" เราก็จะได้ลิสต์รายการ vdo clip ที่เกี่ยวข้องกับ pronunciation มากมาย

แต่ถ้าต้องการกรอบให้การค้นของเราละเอียดมากขึ้นเราอาจใช้คำค้นว่า "English Pronunciation" ก็ได้ ซึ่งจะทำให้รายการค้นแคบลงมาอีก

และหนึ่งในรายการค้น english pronunciation เราก็จะได้ไฟล์ vdo สอนการออกเสียง Daily Pronunciation จากเวบ http://www.sozoexchange.com ซึ่งน่าสนใจมากเวบนี้

ตัวอย่างเช่น ไฟล์ vdo ที่หยิบมาเป็นตัวอย่างสอนการออกเสียงคำว่า "fascinating" ถามว่า เราจะได้อะไรจากการดู vdo clip อันนี้ ตอบได้เลย
1. เสียงการออกเสียงจริงจากเจ้าของภาษา
2. เทคนิคการออกเสียงภาษาอังกฤษ ถึงแม้ว่าการออกเสียงภาษาอังกฤษในปัจจุบัน ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ อังกฤษ-อังกฤษ หรือ อังกฤษ-อเมริกัน หรือ อังกฤษแบบไทย หรือ ฯลฯ แต่เทคนิคนี้จะสอนให้เราได้เห็นวิธีการบังคับใช้ ริมฝีปาก (lips) ฟัน (teeth) ลิ้น (tongue) กราม (jar) และ กล้ามเนื้อใบหน้า (face muscle) ซึ่งสำคัญมากต่อการออกเสียงภาษาอังกฤษให้ชัดเจน ซึ่งจะแตกต่างจากลักษณะของการออกเสียงในภาษาไทย เช่น การบังคับใช้ริมฝีปากและลิ้นในการออกเสียง ซึ่งเสียงภาษาอังกฤษบางเสียงต้องใช้ แต่ภาษาไทยไม่ต้องใช้ เราจึงไม่คุ้นเคยกับการใช้อวัยวะการออกเสียงดังกล่าว
3. ได้ฝึกฟัง เพราะผู้สอนจะอธิบายความหมายของคำศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ (definition)
4. ได้เห็นตัวอย่างการใช้คำศัพท์จากประโยคตัวอย่าง (word in example sentence or word in context)
5. ได้ความตื่นเต้นกระตุ้นการเรียนรู้จากสื่อ digital multimedia
6. ได้รู้แหล่งข้อมูลที่เราจะแวะมาใช้งานเมื่อไหร่ก็ได้ที่เราต้องการ ทุกที่ทุกเวลาที่สามารถเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ตได้
7. สำคัญที่สุด ฟรี! ครับท่าน



อ้างอิง:http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=2375.msg14370
http://www.ichiangrai.com/community/viewtopic.php?f=12&t=529

วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553

E-mail (Electronic mail) คืออะไร


อย่างที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า E-mail (Electronic mail) คือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่เอาไว้ส่งข้อความ รูปภาพ ผ่านระบบเชื่อมโยงอินเตอร์เน็ต ว่าแต่น้องๆ ชาว Dek-D.Com เคยสังเกตการส่ง E-mail กันบ้างรึเปล่าจ้ะว่านอกจาก To แล้ว ยังมี Cc และ Bcc อีกด้วย แล้วมันแตกต่างกันยังไงนะ

E-mail ย่อมาจาก Electronic Mail >> เริ่มใช้กันในปี ค.ศ. 1965 เป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งข้อความจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง สามารถที่จะแนบไฟล์ภาพ หรือไฟล์ต่างๆ ลงไปได้ด้วย โดย E-mail ฉบับจะถูกเก็บรักษาไว้ในเมล์บล็กซ์ของผู้รับ รอจนกว่าผู้รับจะมาเปิดอ่าน
Cc ย่อมาจาก Carbon Copy >> E-mail ที่กรอกอยู่ในช่อง Cc จะได้รับข้อความเหมือนกับในช่อง To ทุกประการ แต่จะมีจุดที่แตกต่างกัน คือ ผู้รับไม่จำเป็นต้องตอบกลับ เพราะ E-mail ฉบับนี้เป็นเพียงแค่สำเนาที่ต้องการแจ้งให้ทราบเพียงเท่านั้น
Bcc ย่อมาจาก Blind Carbon Copy >> E-mail ที่กรอกอยู่ในช่อง Bcc จะได้รับข้อความที่เหมือนกับในช่อง To และ Cc ทุกประการ แต่จะมีจุดพิเศษและไม่เหมือนอยู่ที่ ผู้รับในช่อง To และ Cc จะไม่เห็น E-mail ในช่องนี้

จากhttp://dek-d.com/content/lifestyle/19380/Cc-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-Bcc-%E0%B9%83%E0%B8%99-E-mail-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD-.php

Webboard คืออะไร?



WebBoard คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในลักษณะเป็น กระดานสนทนา เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยใช้รูปแบบการแสดงผล HTML ที่นิยมใช้ใน World Wide Web.. WebBoard อนุญาตให้ผู้เยี่ยมชมเวปไซต์ และผู้พัฒนาเวปไซต์ สามารถตั้งหัวข้อกระทู้ เพื่อประกาศข่าวสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ ซึ่งจะมีความแตกต่างจาก GuestBook ตรงที่ WebBoard จะสามารถแยก หัวข้อต่างๆ ออกเป็นกระทู้ๆ มีความโต้ตอบกันในการสนทนา ในหัวข้อเดียวกันมากกว่า กล่าวได้ว่า WebBoard คือพัฒนาการในรูปแบบใหม่ ของระบบการสนทนาใน BBS (Bulletin Board System) ที่เคยได้รับความนิยม ก่อนที่ระบบเครือข่าย Internet จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น WebBoard ที่พบเห็นกัน มีอยู่หลายรูปแบบ สำหรับโปรแกรม D'Board ที่เปิดให้ใช้บริการนี้ จะเป็น WebBoard ในลักษณะเดียว (รูปแบบคล้าย) กับที่ใช้ใน pantip.com

ข้อดีของการใช้ Webboard
เป็นช่องทางในการติดต่อ ประกาศข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้
ทำให้เกิดสังคม ในการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ระหว่างกลุ่มผู้เยี่ยมชม
ผู้พัฒนาโฮมเพจ สามารถใช้เป็นช่องทางในการ ประกาศข่าวใหม่ๆ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นได้
ง่ายในการใช้งาน แม้จะเป็นผู้เริ่มต้น เมื่อเทียบกับการใช้ Mailing list หรือ News Group

MSN Messenger คืออะไร?




MSN Messenger คืออะไร? ทางนี้มีคำตอบ MSN Messenger หรือที่ เราชอบเรียกกันว่า msn เนี่ย มันก็คือ โปรแกรมส่งข้อความข้าม ระบบเน็ทเวิร์ค แบบทันทีทันใด หรือภาษาฝรั่งเรียกว่า IM (Instant Messenger) ถ้าคุณเคยเล่นโปรแกรม ICQ IRC หรือ Pirch ก็เข้าข่ายเป็นโปรแกรมพวกเดียวกัน แหละครับ!ทีนี้ทำไม เจ้า msn เนี่ยมันถึงฮิตติดชารจ์ขึ้นมา ก็เนื่องจากความง่ายของการใช้งาน เช่นคุณแค่มี E-mail ของ hotmail หรือ msn คุณก็สามารถเล่นเจ้า msn ได้ทันที แถมมันยังผนวกกับ email ของเราซะอีก โดยที่ เมื่อใดก็ตามที่มีเมล์ เข้ามาถึงเรา เจ้า msn มันก็จะแจ้ง ให้คุณทราบทันที นอกจากนั้น ความเร็วของการ รับและส่งข้อความระหว่างกัน ก็ทำได้อย่างรวดเร็ว หน้าตาโปรแกรมที่สวยงาม แถมเวอร์ชันใหม่ เรายังสามารถใส่รูปของเราได้อีกด้วย! แจ๋วจริงๆ แฮะจากรูปด้านบน คือหน้าตาของโปรแกรม msn ครับซึ่งจะแบ่งออกเป็นสองส่วน1. หน้าต่างหลัก: ที่หน้าต่างนี้จะแสดงชื่อของเพื่อนๆ เราครับ ทั้งคนที่ online และ offline ซึ่งเวลาเราจะคุยกับเพื่อนคนไหน ก็สามารถดับเบิ้ลคลิ๊ก ที่ชื่อแล้ว หน้าต่างอีกอันจะแสดงขึ้นมา (รูปด้านขวามือ) เราก้อสามารถพิมพ์ข้อความส่งให้เพื่อนได้ทันที2.หน้าต่างที่เราคุยกับเพื่อน: ที่หน้าต่างนี้เราสามารถพิมพ์ข้อความ คุยกับเพื่อนได้ทันที แล้วคุณยังสามารถให้ msn แสดงรูปภาพของเรา โดยที่ ทางฝั่งเพื่อนของเรา ก็จะเห็นรูปดังกล่าวเช่นกัน อีกทั้งยังสามารถส่ง icon ต่างๆ เพื่อสื่ออารมณ์ เพิ่มความสนุกสนานในการ chat ได้อีกด้วยอ้อ! ที่สำคัญก่อนใช้เนี่ย ผู้ใช้ต้องมี Email ของ Hotmail หรือ MSN ก่อนนะครับ หากใครไม่มี ต้องไปสมัครที่ http://www.hotmail.com/ ก่อนนะครับ ข้อมูลได้มาจาก www.thaimsn.net.com ครับ




Blog คืออะไรกันแน่ ?


อันที่จริงผมตั้งใจจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับบล็อกมานานแล้ว แต่ไม่สบด้วยเวลาแลโอกาส แต่ในช่วงที่ผ่านมา นิตยสารคอมพิวเตอร์ ในเยอรมนีหลายเล่ม ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับ บล็อกหลายบทความ เป็นการส่งสัญญาณให้คนวงการ คอมพิวเตอร์สัญชาติเยอรมันรับรู้ว่า ตอนนี้บล็อกกำลังมาแรง
เว็บไซท์ BioLawCom ของพวกผมเอง ก็เป็นเว็บไซท์ที่ต้องการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ในรูปแบบบล็อกเหมือนกัน ดังนั้น หน้าแรกของเว็บไซท์ที่ทุกท่านเห็น เลยถูกเขียนแสดงให้เป็น บล็อก ซึ่งผู้จัดทำได้รับอิทธิพล การนำเสนอมาจากเวบ blognone เวบข่าวสารทางไอที
บล็อกไม่ได้มีอิทธิพลแค่เพียงในเยอรมนี ประเทศที่ผมกำลังเรียนอยู่ หรือ แค่ในสหรัฐอเมริกา ประเทศบ้านเกิดของบล็อก แต่อิทธิพลของบล็อกกำลังแผ่ปกคลุมไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ ประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้ให้บริการบล็อกที่เพิ่มขึ้นมากในบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็น exteen ให้บริการบล็อกฟรีสำหรับวัยโจ๋ bloggang ให้บริการบล็อกฟรีสำหรับสมาชิก pantip gotoknow บริการบล็อกฟรีจาก ส.ค.ส. (สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม) เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยจัดการความรู้ในสังคม และอื่นๆอีกมามาย
แต่มีใครทราบไหมครับว่า blog คืออะไร และมีที่มาอย่างไร...
บล็อกมาจากทะเล ผมไม่ได้ล้อเล่นนะครับ ในการเดินเรือจากอดีตถึงปัจจุบัน ลูกเรือโดยเฉพาะกัปตันเรือ ต้องบันทึกข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับเรือของตนลงในสมุดเล่มหนึ่ง ที่เรียกกันว่า Logbook สิ่งที่บันทึกลงไปนั้นจะเป็นเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับเรือทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นดินฟ้าอากาศในขณะเดินเรือ เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น สิ่งที่พบเห็น สภาพเรือ ฯลฯ อธิบายง่ายๆ ก็คือ บันทึกประจำวันของเรือนั่นเอง
ในการพัฒนาซอพท์แวร์ก็ต้องการอะไรบางอย่างที่คล้ายๆ Logbook เพื่อเก็บบันทึกข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาซอร์แวร์ ไม่ว่าจะเป็นข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น หรือความก้าวหน้า ของการพัฒนา
ผมไม่ทราบเหมือนกันว่านักพัฒนาซอพท์แวร์ในยุคแรก ๆ เคยเป็นชาวเรือมาก่อนหรือไม่ เลยเก็บบันทึกดังกล่าวไว้ในไฟล์ ๆ หนึ่ง แล้วตั้งชื่อมันว่า Logfile ปัจจุบัน เรายังคงเห็นเจ้า Logfile นี้อยู่ได้ทั่วไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ (มีใครทราบ ไหมครับว่าอยู่ตรงไหน) แต่มักเป็นไฟล์ที่ใช้เก็บข้อมูลข้อผิดพลาดในการทำงานของโปรแกรม เพื่อนักพัฒนาทั้งหลายจะได้นำข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาแก้ไขได้ในภายหลัง
ในยุคที่ Internet เข้ามามีอิทธิพลต่อการพัฒนาซอพท์แวร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งซอพท์แวร์ที่เป็น OpenSource โดยนักพัฒนาซอพท์แวร์ OpenSource ทั้งหลายได้ใช้ Internet เป็นสื่อกลางในการพัฒนาโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งนักพัฒนาทุกคนจะสามารถใส่แนวคิด และ โค้ดของตนเองลงไปในซอพท์แวร์ได้ เพื่อเป็นการอธิบายแนวคิดของตนที่ใส่ลงในซอพท์แวร์ นักพัฒนาเหล่านี้จึงเขียน Weblog ส่วนตัว เพื่อให้นักพัฒนาคนอื่น ๆ เข้ามาอ่าน และ Weblog นี่เองก็กลายมาเป็น Blog ในปัจจุบัน
ลักษณะของบล็อกไม่ตายตัว หรือถูกจำกัดอยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แต่บล็อกแต่ละรูปแบบ มีลักษณะร่วมที่คล้ายกันคือ สิ่งที่เขียนทีหลังได้รับการแสดงผลก่อน และส่วนมาก จะแบ่งการแสดงผลตามวันที่เขียน รูปแบบของบล็อกที่เรามักเห็นกันในปัจจุบันได้แก่ บล็อกข่าว บล็อกบนทึกประจำวัน บล็อกภาพถ่าย เป็นต้น
ผู้เขียนบล็อกจะได้รับการขนานนามว่าเป็น Blogger สิ่งที่ Blogger มักเขียน ลงในบล็อกของตน คือ ความคิดเห็นต่อเหตุการที่ตนสนใจ และเหล่า Blogger จะมีวิธีการ สร้างเครือข่ายที่น่าสนใจคือ หาก Blogger ได้อ่านบล็อกของ Blogger คนอื่น เขาจักไม่แสดง ความคิดเห็นลงในบล็อกดังกล่าวทันที แต่จักเขียนความคิดเห็นลงในบล็อกของตน และทิ้งลิ้งค์ เอาไว้ในบล็อกที่ตนอ่าน เพื่อให้บล็อกเกอร์คนอื่น ๆ ได้ติดตามอ่านต่อไป
การสร้างเครือข่ายด้วยวิธีนี้ ทำให้สังคมบล็อกเกอร์แข็งขึ้นทุกขณะ กระทั่งในปัจจุบัน สังคมบล็อกเกอร์หลายสังคมสามารถสร้างอำนาจต่อรองอันแข็งแกร่ง ให้กับสังคมบล็อกเกอร์ ของตนได้ ที่เห็นได้ชัด คือ สังคมบล็อกเกอร์ในวงการไอที
Blog ในปัจจุบันมีต้นกำเนิดมาจาก blogger โดย blogger ได้เอาแนวคิดดังกล่าวมาจาก Weblog ดังที่กล่าวไป ปัจจุบัน blogger อยู่ภายใต้การโอบอุ้มจาก google และดูเหมือนว่านักพัฒนาจาก blogger และเหล่าผู้ใช้บริการของ blogger จะพึงพอใจการโอบอุ้ม ดังกล่าวของ google เป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีคนเป็นเดือดเป็นร้อน และสร้าง msn space มาแข่งขัน แต่ดูเหมือนว่าจะไปไม่รุ่ง ส่วนหนึ่งผมคิดว่า มาจาก ธรรมชาติของกลุ่มผู้ใช้เอง ที่มีความแตกต่างกันค่อนข้างสูงระหว่างกลุ่มผู้ใช้ msn space และ blogger
หลายคนอาจมองไม่เห็นข้อแตกต่างระหว่างบล็อก และเว็บบอร์ด ในเชิงเทคนิคแล้ว ทั้งบล็อก และเวบบอร์ดต่างกันไม่มากครับ แต่ในเชิงเนื้อหานั้นต่างกันมากทีเดียว เวบบอร์ดนั้นเป็นที่สำหรับ ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของคนกลุ่มหนึ่ง
ส่วนบล็อก ปัจจุบัน ถูกใช้เป็นที่สำหรับเสนอทั้ง "ข้อเท็จจริง" และ "ความคิดเห็นส่วนตัวต่อข้อเท็จจริงนั้น ๆ" เพื่อเปิดโชว์มุมมองของคนคนหนึ่ง (เจ้าของบล็อก) ต่อสาธารณะชน ซึ่งตรงนี้เองครับที่ทำให้บล็อกแตกต่าง ทั้งจาก
บันทึกประจำวัน หรือไดอารี่ เพราะไม่ได้เขียนเฉพาะเรื่องราวส่วนตัวเท่านั้น
ต่างจาก เว็บบอร์ด เพราะนอกจากข่าวสารที่แลกเปลี่ยนกันแล้ว ยังเน้นการเขียน มุมมองของตัวเองเพิ่มเติมลงไปด้วย และแน่นอนครับ บล็อกย่อมแตกต่างจาก
เว็บข่าวธรรมดา อยู่มาก เพราะ บล็อกเกอร์ส่วนใหญ่ มักไม่ได้หยิบเฉพาะ เนื้อหาข่าวสารจากที่หนึ่งที่ใดมาเขียนเล่าอย่างเดียว ดังกล่าวแล้ว ที่สำคัญเมื่อมองในมุมกลับ คนที่พิศมัยการอ่านบล็อกส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้คาดหวังแค่เพียง "เนื้อหาข่าวสาร" เท่านั้น แต่หวังจะได้แง่มุมของเจ้าของบล็อกที่เขาตามอ่านกลับไปด้วย
ด้วยเหตุนี้ โดยส่วนตัวผมจึงเห็นว่า หากจะเทียบ "บล็อก" กับสื่ออะไรสักอย่างหนึ่งจริง ๆ ล่ะก็ บล็อก น่าจะมีส่วนคล้ายกับ "คอลัมภ์วิเคราะห์" ตามนิตยสารต่าง ๆ มากที่สุดครับ
สำหรับผมปัจจุบัน บล็อก ถือเป็นเครื่องมือในการนำเสนอข้อมูลที่ดีมากรูปแบบหนึ่งครับ แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่า ใครจะนำเครื่องมือชิ้นนี้ไปสร้างประโยชน์ หรือโทษเท่านั้นเอง

จากhttp://biolawcom.de/?/blog/162